พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 5 เรื่องแนวคิดการพัฒนาแบรนด์

4 ก.ย. 2567

สรุปกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 5 เรื่องแนวคิดการพัฒนาแบรนด์

โครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง

ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น

วันอังคาร ที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 13.30–15.30 น.

บริษัท โซเชียล อะไลน์ จำกัด และผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Meeting

สุทธิพงษ์ สุริยะ ออกแบบแนวคิดด้วยปรัชญา “นำ Local สู่ เลอค่า”

          ผมเองก็ทำงานไม่ว่าจะในส่วนของภาคในเรื่องของการทำแบรนด์ในองค์กร ก็จะมีทั่งบริษัทเอกชน ส่วนในชองภาครัฐก็จะมี ทั้ง ในโรงพยาบาล และเรือนจำ จะเป็นการวาดรุปตามผนัง กำแพง ในบริเวณที่เรามองแล้ว มันเหมาะสม เล็งเห็นถึงประโยชน์ และวันนี้เราก็จะพูดโรงพยาบาลชุมชนครับ และด้วยความที่ผมเป็นคนบึงกาฬ

สุทธิพงษ์ สุริยะ : ความงามทางธรรมชาติที่ไม่ต้องปรุงแต่ง เรามีหิน น้ำ ภู ต้นไม้ ป่าเขา และความเชื่อความศรัทธาเรื่องพญานาค ซึ่งวิธีการจัดการด้านการออกแบบนั้นจำเป็นต้องใช้ทุนทางวัฒนธรรมและสภาพพื้นที่จริง อย่างแรกที่ผมทำคือการจับคู่สีเพื่อเป็นต้นแบบ ผมเคยไปท่องเที่ยวต่างประเทศเห็นในหมู่บ้านเดียวกันเขาใช้สีในการแสดงสัญลักษณ์ความเป็นหมู่บ้าน ซึ่งสีที่ผมใช้คือสีม่วง เป็นสีประจำ จ.บึงกาฬ กับสีเขียวที่เป็นสีของ อ.โซ่พิสัย แม้เป็นสีของทางการที่เราเลือกไม่ได้ แต่ผมเลือกเฉดสีที่จะใช้ได้


คำว่า เลอค่า ที่วางไว้

คำว่า เลอค่า ที่วางไว้

ในความหมายของผมคือ การทำให้คุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นอยู่ดีกินดี ด้วยการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นให้เลอค่า ผ่านความงามทางสถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารการกิน ของฝาก และการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ก็คือชาวบ้าน นี่คือความเลอค่าในมิติของผม ทั้งนี้ เป้าหมายการออกแบบชุมชนของผมเน้นที่ความยั่งยืนตามหลัก SDGs (Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน) เพราะผมเคยเห็นบางชุมชนมีหน่วยงานเข้าไปช่วยพัฒนา แต่สวยเฉพาะตอนเริ่มแล้วก็จบด้วยตัวมันเอง  ผมจึงตั้งใจทำบ้านตัวเองให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต เพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนทั้งหมู่บ้าน ซึ่งได้ขยับขยายกลายเป็น ‘โซ่พิสัยโมเดล’ ทั้งอำเภอตอนนี้กำลังกลายเป็นสีม่วงและสีเขียว

อุปสรรคที่เผชิญ

สุทธิพงษ์ สุริยะ : อย่างแรกเลย ชาวบ้านมองว่าผมเป็นผีบ้ามาจากไหน ทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ไม่กล้ามาถามผมตรงๆ ได้แต่มาด้อมๆ มองๆ ส่วนพ่อทีแรกก็ต่อต้าน ส่วนหนึ่งเพราะเขาเพิ่งเสียคู่ชีวิตไป พอผมขอไปปรับปรุงบ้าน เขารู้สึกเหมือนเราจะไปทุบบ้านที่เขาอยู่มาทั้งชีวิต เขารู้สึกไม่มั่นคงกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด เลยต่อรองขอทำห้องพระห้องเดียว นึกภาพตามนะว่าบ้านผมสองชั้น พ่อแม่แก่แล้วท่านก็อยู่แต่ชั้นล่าง ชั้นสองเลยเหมือนถูกปิดตาย ไม่มีใครใช้เลย ผมเลยตั้งใจรีโนเวตห้องพระที่ชั้นบนก่อน โดยเตี๊ยมกับพี่สาวไว้ว่า ถ้าทำเสร็จแล้วให้พี่พาเพื่อนมาตอนที่เราพาพ่อขึ้นมาดู แล้วเราต้องช่วยกันพูดนะว่า สวยงาม ดีเลิศ ประเสริฐ ว้าว คือให้ชมอย่างเดียว เพื่อให้พ่อมีกำลังใจและรู้สึกดี

          การพัฒนาชุมชนให้สำเร็จต้องอาศัย 2 ปัจจัย หนึ่งคือพื้นที่ต้องพร้อม หมายถึงมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย สักครึ่งหนึ่งก็ง่ายล่ะ สองต้องมีบุคคลที่ทำงานเชิงผู้นำในพื้นที่ ผมเน้นย้ำว่าต้องเป็นผู้นำในเชิงปฏิบัติไม่ใช่ผู้นำโดยตำแหน่ง ถ้ามีสองอย่างนี้ยังไงก็สำเร็จ แต่ที่ผมทำอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะผมทำเอง ผมสามารถสร้างสิ่งที่ไม่มีให้กลายเป็นมีได้ทุกอย่าง

 

ส่วนผู้นำการพัฒนาชุมชนต้องมีความรู้ 3 ด้าน คือ

1.การทำแบรนดิ้ง

2.เรียนรู้เรื่องรสนิยมเพื่อมาหยิบจับต้นทุนวัฒนธรรมให้ดูมีคุณค่าขึ้นมา

3.การสร้างอินฟลูเอนเซอร์ในชุมชน ถ้าผู้นำมีครบ 3 คุณสมบัตินี้ บ้านนอกจะเปรี้ยงปร้างอย่างบ้านผมได

Art Therapy แต่งแต้ม ‘ศิลปะ’ ให้กับ ‘โรงพยาบาลโซ่พิสัย’

ศิลปะ” เยียวยาจิตใจ ผ่อนคลายหายเศร้า และเครียดได้ มีผลในแง่ของจิตวิทยาแนวทางสร้างสรรค์ “ศิลปะบำบัด” Art Therapy ที่ทำได้ทั้งในแง่ของการเป็นผู้รังสรรค์ผลงานและผู้เสพผลงาน อาทิเช่นการวาดภาพ ระบายสี วันนี้มีการเนรมิต “โรงพยาบาลโซ่พิสัย” ให้ดูสดใส เล่าถึง โครงการ “ศิลปะบำบัด” ในโรงพยาบาลชุมชนว่า ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผมสนใจการทำงานแบบจิตอาสา และประทับใจแนวทางการทำงานแบบยั่งยืนของมูลนิธิโครงการหลวงก็เลยเอามาปรับใช้เมื่อมีโอกาสเสมอ ครั้งนี้ได้รู้จักกับน้องโบ หรือ โบ-อิสรีย์ ฉัตรดอกไม้ไพร นักเรียนชั้น ม. 5 โรงเรียนสาธิตปทุมวัน เธอเป็นเด็กที่ไม่เข้าโรงเรียนกวดวิชาเลย เธออยากใช้เวลาค้นหาคุณค่าของชีวิตมากกว่า ผมรู้เพราะได้เจอกับคุณแม่ของน้องโบ คือ หญิง-ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ที่ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตของผม ได้เห็นสิ่งที่ผมทำ คุณแม่ก็เลยเอาหนังสือไปให้ลูกศึกษาเอง หลังจากนั้นก็บอกว่า น้องโบอยากมาทำงานจิตอาสาที่ อำเภอโซ่พิสัย ก็คือที่มาของงานโครงการนี้

งานศิลปะที่บรรจงสร้างสรรค์นั้นอย่างน้อยเกิดความแปลกตา สร้างมิติใหม่ให้กับโรงพยาบาล สถานที่ ที่ไม่มีใครต้องการจะไปเช็คอิน กลายเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่เมื่อไปแล้วต้องถ่ายภาพเช็คอิน “ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ” เล่าว่า ได้เห็นภาพเด็กๆที่มาโรงพยาบาลแล้วร้องไห้ ผู้ปกครองพามาเดินดูภาพวาด เด็กๆเพลิดเพลินจนลืมร้องไห้ คนไข้ที่มาคลอดบุตร ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล อุ้มลูกถ่ายภาพเช็คอิน ฯลฯ ถือว่าเป็น “ศิลปะบำบัด” Art Therapy ที่ประสบความสำเร็จ “ทั้งหมดมี ๓๐ จุด Black Drop ให้เช็คอิน ใช้เวลาวาด ๓ วัน คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีให้กับคนในชุมชนที่ได้ถ่ายภาพสวยๆเก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตของเขา ตัวน้องที่มาเป็นจิตอาสาเอง อย่างน้องโบ บอกว่าเขากับเพื่อนๆ ๙ คนตั้งใจมาเป็นผู้ให้ แต่พอมาแล้วเขากลับเป็นผู้ได้รับมากกว่า เพราะคนที่นี่ดูแลเขาอย่างดี น่าประทับใจ” ความหวังของอาจารย์ขายคือ ต้องการทำอำเภอโซ่พิสัยให้เป็นเมืองศิลปะ ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้ได้นานที่สุด นอกจากใช้เวลาอยู่กับพิพิธภัณฑ์ชุมชน ช้อปปิง รับประทานอาหารแล้วมาดูงาน

 

 

ศิลปะที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย ได้เห็นวิถีชีวิตของโรงพยาบาลต่างจังหวัด เผื่อว่าจะเรียกความสนใจในการสนับสนุนทุนทรัพย์พัฒนาโรงพยาบาล เพื่อสวัสดิการที่ดีของคนในชุมชนต่อไป อาจารย์ขาบ-สุทธิพงษ์” ย้ำว่าต้องสามารถสร้างศิลปะบำบัด เพราะเวลาคนไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ เมื่อเข้าไปแล้วส่วนใหญ่จะรู้สึกหดหู่ สภาพจิตใจไม่ค่อยแจ่มใส แล้วจะมีวิธีคลายทุกข์ให้กับเขาเหล่านั้นได้อย่างไร Art Therapy “ศิลปะบำบัด” เป็นอีกหนึ่งคำตอบ

ดังนั้น จากการลงพื้นที่โรงพยาบาลโซ่พิสัยทำให้มองว่านี่ไม่น่าใช่โรงพยาบาลชุมชนจากที่เคยเห็นมา แล้วเพราะบรรยากาศทำให้มีความสบายใจยิ่งนักมีความสัปปายะสอดรับกับภาวนา ๔ ในทางพระพุทธศาสนาคือ ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ และด้านปัญญาภาพ ผู้เจ็บป่วยมารักษาผ่อนคลายจิตใจอย่างดียิ่งรวมถึงบุคลากรของโรงพยาบาลโซ่พิสัยที่ต้องอยู่กับผู้มีความทุกข์ทางกายและใจ ศิลปะจึงสามารถเป็นเครื่องบำบัดได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยนำศิลปะผ่านพญานาคในรูปแบบของวิถีใหม่

ทั้งหมดมี 30 จุด Black Drop ให้เช็คอิน ใช้เวลาวาด 3 วัน คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีให้กับคนในชุมชนที่ได้ถ่ายภาพสวยๆเก็บไว้เป็นที่ระลึก เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตของเขา ตัวน้องๆที่มาเป็นจิตอาสาเอง อย่างน้องโบ บอกว่าเขากับเพื่อนๆ 9 คนตั้งใจมาเป็นผู้ให้ แต่พอมาแล้วเขากลับเป็นผู้ได้รับมากกว่า เพราะคนที่นี่ดูแลเขาอย่างดี น่าประทับใจ
ต้องการทำอำภอโซ่พิสัยให้เป็นเมืองศิลปะ ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้ได้นานที่สุด นอกจากใช้เวลาอยู่กับพิพิธภัณฑ์ชุมชน ช้อปปิง รับประทานอาหารแล้วมาดูงานศิลปะที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย ได้เห็นวิถีชีวิตของโรงพยาบาลต่างจังหวัด เผื่อว่าจะเรียกความสนใจในการสนับสนุนทุนทรัพย์พัฒนาโรงพยาบาล เพื่อสวัสดิการที่ดีของคนในชุมชนต่อไป

ผมได้มีโอกาสไปช่วยปรับภาพลักษณ์ ให้มีความสวยงามจนเป็นโรงพยาบาลต้นแบบ เป็นประวัติศาสตร์ชีวิตของเขา ตัวน้องที่มาเป็นจิตอาสาเอง อย่างน้องโบ บอกว่าเขากับเพื่อนๆ ๙ คนตั้งใจมาเป็นผู้ให้ แต่พอมาแล้วเขากลับเป็นผู้ได้รับมากกว่า เพราะคนที่นี่ดูแลเขาอย่างดี น่าประทับใจ” ความหวังของอาจารย์ขายคือ ต้องการทำอำเภอโซ่พิสัยให้เป็นเมืองศิลปะ ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้ได้นานที่สุด นอกจากใช้เวลาอยู่กับพิพิธภัณฑ์ชุมชน ช้อปปิง รับประทานอาหารแล้วมาดูงานศิลปะที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย ได้เห็นวิถีชีวิตของโรงพยาบาลต่างจังหวัด เผื่อว่าจะเรียกความสนใจในการสนับสนุนทุนทรัพย์พัฒนาโรงพยาบาล เพื่อสวัสดิการที่ดีของคนในชุมชนต่อไป อาจารย์ขาบ-สุทธิพงษ์” ย้ำว่าต้องสามารถสร้างศิลปะบำบัด เพราะเวลาคนไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ เมื่อเข้าไปแล้วส่วนใหญ่จะรู้สึกหดหู่ สภาพจิตใจไม่ค่อยแจ่มใส แล้วจะมีวิธีคลายทุกข์ให้กับเขาเหล่านั้นได้อย่างไร Art Therapy “ศิลปะบำบัด” เป็นอีกหนึ่งคำตอบ

โดยจะความไล่สีเป็นแบบพาสเทล เพราะสีจังหวัด บึงกาฬ คือสีม่วง สีอำเภอ โซ่พิสัย เป็นสีเขียว และเราได้มีการเอาวัฒนธรรมที่จังหวัดบึงกาฬ ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อ ความศรัทธา เรื่องพญานาค โดยเราจะมาวาดบนกำแพงลงไปตามห้องทั่วไปในโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลพิสัยได้รับความสนใจ และมีหลายหน่วยงานมาดูงานที่นี้เป็นจำนวนมากขึ้น อย่างเช่น อาหารคนไข้ เราก็จะทำเป็นสำรับ เบนโตะ แบบญี่ปุ่น ทำให้คนไข้เหมือนได้กินอาหารญี่ปุ่นทุกมื้อ ให้เขาได้มีสุขใจที่ดีมากยิ่งขึ้น

เห็นว่า ทางโรงพยาบาลมีผลิตภัณฑ์ของชุมชนเข้ามา ขายในโรงพยาบาล หรือบางห้องก็มีอุปกรณ์ ของในชุมชนเข้ามาจัดตกแต่งให้มีความสวยงามมากขึ้น ไปเสริมจุดขาย มีโรงพยาบาลเป็น PR เพื่อเข้าไปกระตุ้นให้เกิดยอดขาย คนที่เข้ามาในโรงพยาบาลก็เกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์สินค้าของชุมชนมากกว่าเดิม