พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 4 การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
4 ก.ย. 2567
สรุปกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 4 การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
โครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น
วัน 2 เมษายน 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น.
ณ บริษัท โซเชียล อะไลน์จำกัด และผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Meeting
คุณทรรศิน สุขโต : เริ่มต้นจากที่ผมลงไปในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชน และคนในพื้นที่มีรายได้ มีอาชีพที่ดีขึ้น ที่นี้ถ้าเป็นคุณหมอและพี่ๆพยาบาลอยู่ในชุมชน หรือเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เวลาที่เราจะเข้าไปพบชาวบ้าน เราจะพบอย่างหนึ่งว่า เขาก็จะอยู่กันแบบนั้นตามประสาชาวบ้านนั้นนะ และถ้าเมื่อเราไปพูดว่า ทำไมเราไม่ไปทำอาชีพที่ดีกว่า มาช่วยกัน ทำไมไม่ทำให้มีรายได้ที่ดีกว่านี้ละ แต่เมื่อชาวบ้านมีความรู้สึกว่า เราก็เต็มที่ในประมาณหนึ่ง แล้วถ้าสมมติว่าตัวชาวบ้านกล่าวว่า เต็มที่แล้ว เราจะควรทำอย่างไรต่อ คือ เราจะต้องพยายามเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่มาที่ไปของตัวแผนธุรกิจตัวนะครับเกิดจากความพยายามอันนี้ เราพบประมาณหนึ่งว่า เวลาชาวบ้านจะทำมาหากิน ทำมาค้าขายเนี่ย เขาเคยทำมาอย่างไร เขาก็จะทำอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้นการทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ก็คือ กระบวนการที่ทำอย่างไรให้ชาวบ้านเขาทำมาหากิน ทำมาค้าขายแบบมีแบบแผน มีวิธีการที่จะรุกเข้าไปในตลาดด้วยตัวเขาเองได้มากขึ้น ซึ่งตัว Community Business Model Canvas (CBMC)
แนวคิด CBMC
เราเกิดมาพร้อมธรรมชาติรอบตัว เราจึงได้เรียนรู้ ในการอยู่กับธรรมชาติและชาวบ้านด้วยกัน นั่นคือ เรามีภูมิปัญญา(เฉพาะถิ่นติดตัวมาตั้งแต่เกิด)เรามีของกินของใช้จากการดัดแปลงธรรมชาติมาใช้อย่างพอเพียง และถ้ามีมากเราก็ขายตามเท่าที่ทำได้ เราเก่งในการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ด้วยภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น
ผู้ประกอบการในเมือง และนอกประเทศดึงดูด ธรรมชาติออกไปจากเรา นำไปดัดแปลงเป็นสินค้าและบริการด้วยปัญญาสมัยใหม่ แล้วส่งกลับมาขายเราในรูปสินค้าและบริการที่ทันสมัยในราคาที่สูงกว่า เท่ากับความสามารถในการดัดแปลงด้วยปัญญาสมัยใหม่ มีราคาค่างวดสูงกว่า ราคาของแหล่งกำเนิดสินค้าที่ถูกดัดแปลงเบื้องต้นด้วยปัญญาเฉพาะถิ่นของชาวบ้านหลายเท่า
แบบจำลองทางธุรกิจ 9 ขั้นตอน
ทรรศิน สุขโต ผู้อำนวยการหลักสูตรแผนธุรกิจเพื่อชุมชน หรือ “ครูใหญ่” ของผู้เข้ารับการอบรม CBMC จะใช้กระบวนการฝึกอบรม ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas)
2.แผนดำเนินงาน (Operation plan) และ
3. ปฏิทินงาน
1.แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน ซึ่งถือเป็นหัวใจของ CBMC มีกระบวนการ 9 ขั้นตอน คือ 1.การค้นหาจุดขายเพื่อสร้างแบรนด์ 2.ค้นหาลูกค้าที่ชัดเจนและลูกค้าในอนาคต 3.การสื่อสารการตลาด 4.ปิดการขายและบริการหลังการขายเพื่อจูงใจให้ซื้อซ้ำ 5.ช่องทางเพิ่มรายได้ เพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายการผลิต ปรับปรุงการผลิต การบริการ 6.แผนการดำเนินงานหรือกิจกรรมหลัก เพื่อบรรลุผลข้อ 5 4 3 2 1 (การผลิต การตลาด การจัดองค์กร) 7.จากข้อ 6 สิ่งใดที่ทำเองได้ 8.จากข้อ 6 สิ่งใดที่ทำลำพังไม่ได้ ต้องร่วมมือกับภายนอก หน่วยงาน พันธมิตร และ 9.จากข้อ 6 ใช้เงินเท่าที่จำเป็น
2.แผนดำเนินงาน หรือกิจกรรมหลักที่จำเป็นที่ต้องทำ เป็นการวางแผนงานตามขั้นตอนที่ 6 โดยต้องลงรายละเอียดหรือเขียนแผนงานลงในตารางเพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น (1) ทำอะไร (2) ทำอย่างไร (3) ใครรับผิดชอบ (4) เสร็จเมื่อไหร่ (ระบุวันเดือนปี) และ (5) งบประมาณ (ใช้หรือไม่/มาจากไหน)
3.ปฏิทินงาน คือการกำหนดรายละเอียดลงไปในปฏิทินงาน เพื่อควบคุมให้งานเดินไปตามแผนและเป้าหมาย โดยนำแผนดำเนินงานจาก (4) เสร็จเมื่อไหร่ มาลงรายละเอียดเพิ่มเติมในตาราง ทั้งนี้กระบวนการฝึกอบรมดังกล่าว จะใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจกระบวนการออกแบบจำลองแผนธุรกิจเพื่อชุมชน 9 ขั้นตอน และนำความรู้นั้นมาฝึกออกแบบจำลองแผน การวางแผนดำเนินงานและจัดทำปฏิทินงาน
นอกจากนี้ยังมีกระบวนติดตามเสริมพลังหลังการฝึกอบรมอีก 2 ขั้นตอน คือ 1.การถอดบทเรียน ความรู้ที่ได้หลังการอบรม และทบทวนการจัดทำแผน CBMC 9 ขั้นตอน และ 2.การผลิตซ้ำ ตอกย้ำทางความคิด โดยให้ผู้เข้าอบรมนำแผน CBMC ไปปฏิบัติการจริงในชุมชนของตนเอง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง
ทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนจัดการธุรกิจได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เพื่อกอบโกย แย่งชิง หรือเน้นแต่ผลกำไร แต่เป็นธุรกิจที่เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีคุณธรรม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งดีๆ ในชุมชน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ เป็นธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
1. หาเสน่ห์สินค้าตัวเองให้เจอ แค่ 1 ชิ้น เป็นตัวนำล่อง
2. หาคนที่เรียกว่าโดนใจกับสินค้าของเราได้ หาลักษณะแฟนคลับให้เจอ
3. ติดใจ ซื้อซ้ำ บอกต่อ
ทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนจัดการธุรกิจได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เพื่อกอบโกย แย่งชิง หรือเน้นแต่ผลกำไร แต่เป็นธุรกิจที่เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน มีคุณธรรม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งดีๆ ในชุมชน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้คนในชุมชนได้ประโยชน์ เป็นธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง !!