พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 3 Workshop การพัฒนาโปรดักส์ชุมชนโดยอาศัยทรัพยากรชุมชน

4 ก.ย. 2567

ครั้งที่ 3 Workshop การพัฒนาโปรดักส์ชุมชนโดยอาศัยทรัพยากรชุมชน

โครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง

ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น

วันอังคาร ที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 13.30–15.30 น.

ณ บริษัท โซเชียล อะไลน์ จำกัด และผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Meeting

          กิจกรรมตัวนี้ที่เราจัดขึ้น เป็นกิจกรรมจัดเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ต้องขอบอกว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสัมมาชีพ เป็นงานที่เรามอบหมายให้ทุกพื้นที่ทุกโรงพยาบาลไปพัฒนาตัวสัมมาชีพให้กับชุมชน บางท่านอาจจะสงสัยว่ามันเกี่ยวกับโครงการโครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น หรืองานพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างไร จริงๆแล้วต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า กิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเรื่องเกี่ยวกับสัมมาอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนเรา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดีได้นอกจากการพัฒนาทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเด็กและเยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดเรื่องของว่า คนคนหนึ่งจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เขาจะสุขภาวะที่ดีได้ไหม ก็คือ เรื่องของอาชีพ มีรายได้ ถ้าเขาไม่มีเงิน ไม่มีความพร้อมเรื่องปัจจัยพื้นฐาน เขาจะเอาเวลาไหนมาดูแลสุขภาพตัวเองละคะ เพราะฉะนั้นนะคะ ตัวนี้ก็เลยเป็นส่วนนึงของโครงการ

เราเลยเชิญชวนทุกโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการและพี่ๆทุกคน มาร่วมกันพัฒนาเครือข่ายชุมชน โรงพยาบาลแน่นอนว่า พี่ๆทุกคนหรือคุณหมออาจจะไม่ค่อยมีความถนัดหรือว่าความรู้ความเข้าใจอาชีพทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ หรือการบริการชุมชนก็ดีค่ะ เรามีไอเดีย เราเป็นผู้เสพน้อยมากที่จะเป็นผู้ขาย เพราะฉะนั้นค่ะ ทางทีม สพบ.ของเราจึงได้เชิญวิทยากรมากหน้าหลายตามาจากหลากหลายหน่วยงานมา เพื่อมาเติมความรู้นี้ให้พี่ๆเครื่อข่ายทุกคนเลย ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงานพัฒนาสังคม ที่เราได้เชิญ คุณจันทนา เบญจทรัพย์ จากสถาบันพัฒนาองกรชุมชน เพื่อที่จะได้รู้ว่าในการทำงานร่วมกับชุมชนสามารถทำด้านไหนได้บ้าง แล้วจะเป็นชวนเขามาเราควรจะเริ่มต้นจากอะไร คุณจันทนา เบญจทรัพย์ ก็ได้มาอธิบายและให้ความรู้กับเราไปแล้วในครั้งแรกที่ผ่านมา ต่อมาคือ ครั้งที่ 2 แนวคิดการพัฒนาสินค้าชุมชน เราได้เชิญ คุณคุณวัชรากรณ์  ขันธจีระวัฒน์ นอกจากจะมาแนะนำองค์กรให้เราได้เห็นภาพ ว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่จริงสามารถขายได้นะ สามารถสร้างรายได้นะ และเอามาขายตลอดข้างนอกได้จริงนะให้คนกรุงเทพได้ซื้อได้จริงๆ เพราะ ดี มี สุข ก็ทำมาแล้ว อีกอย่างนึงนะคะดีมีสุขก็ได้ให้แนวคิดในการเลือกปลิตภัณฑ์ที่ว่า เราควรจะมี 1 2 3 4 อย่างไรเพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ไหนมีคุณภาพ อีกอย่างหนึ่งก็คือ แนวคิดในการเริ่มพัฒนาควรจะเริ่มจากอะไรดี ดูโปรดักส์ก่อน ดูคนด้วยนะ ดูเรื่องการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนด้วยนะ ทางของ ดี มี สุข ก็มาเติมให้เราแล้ว และส่วนของในวันนี้คือ ทางเราจึงเชิญทุกคนมาดูโปรดักส์ของทุกโรงพยาบาลที่ทุกท่านเลือกส่งมาให้เราดูไปพร้อมๆกัน ว่ามันดีหรือไม่ดี ถ้าดีเราควรจะพัฒนาไปในทางด้านไหนได้บ้าง

และก่อนที่เราจะเข้าเนื้อหาในกิจกรรม เราได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล กล่าวเปิดกิจกรรมในครั้งนี้ค่ะ

เข้าสู่ประเด็นของ : มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

อันดับแรกเราอยากขายใคร ถ้าเราจะขายในชุมชนเราต้องแตกต่าง แต่ถ้าเราจะขายคนนอกเราต้องเอาของดี และเป็นเอกลักษณ์

 

-        ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน จำนวนวิสาหกิจชุมชน มี 126,746 ราย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 1,099 เครือข่าย

-        50.08% การเกษตรพืชและสัตว์ 64,738 ราย

-        27.37% การผลิตและแปรรูป 34,685 ราย

-        10.14% งานหัตกรรม12,853 ราย

-        12.41% การบริการและท่องเที่ยว 14,470 ราย

หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่อยู่ในใจของหลายคน ด้วยความรุ่มรวยของศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตอันเรียบง่าย พร้อมด้วยวัดวาอาราม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามไม่น้อยหน้าที่ไหนๆ แต่นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและมีเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสก็คือ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวน่าน อย่างเช่นใน ชุมชนบ่อสวก” ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

          สถานที่ท่องเที่ยววิถีชุมชนที่มนุษย์สร้างขึ้นของจังหวัดบึงกาฬ โดยต่อยอดจากพื้นที่แห่งความศรัทธาพญานาคลุ่มน้ำโขง กลายมาเป็นภาพวาดกราฟฟิตี้พญานาคร่วมสมัยแห่งเดียวในโลก ที่ต้องได้มาสัมผัสด้วยตัวตาตัวเองกว่า 100 ภาพถูกวาดกระจายไปตามจุดต่างๆ  เปิดพื้นที่จากการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนไปสู่การท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน โดยผลงานกราฟฟิตี้ส่วนหนึ่งเป็นการทำงานร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม    

เมื่อมาเยือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ จะได้สัมผัสประสบการณ์กับการอนุรักษ์บ้านอีสานอายุกว่า 70 ปีถูกนำปรับปรุงด้วยศิลปะให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต หรือสนใจอยากจะนุ่งโสร่งหรือผ้าซิ่น ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในอาคารไม้ที่คลาสสิก หรือไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่มีประติมากรรมพญานาค 3 แห่ง ประกอบด้วย พญาทะนะมูลนาคราชองค์สีเขียว 3 เศียร ให้ได้มากราบขอพร หรือประติมากรรมพญานาค 2 ฝั่งโขงเชื่อมสัมพันธ์มิตรภาพลาว ไทย และพญานาค 4 ตระกูล ประกอบด้วยพญานาคสีทอง สีรุ้ง สีเขียว และสีดำให้บูชา 

เพื่อให้มีผลสำเร็จที่ชี้วัดได้จริง ในมิติ 4 ด้าน คือ

1. สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน / Product Value

สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เน้นการพัฒนาแปรรูปเกษตรอินทรีย์ในท้องถิ่น สร้างคุณค่าด้วยนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างโดดเด่นและมีอัตลักษณ์ที่แตกต่าง

2. สร้างแบรนด์ชุมชนที่ยั่งยืน / Sustianable Branding

สร้างแบรนด์ของชุมชนให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอและการเข้าถึงผู้บริโภค ให้เป็นที่จดจำอย่างกว้างขวางและยั่งยืนในอนาคต

3. สร้างครอบครัวความสุข / Family Happiness

สร้างพื้นที่ความสุขให้คนในชุมชนที่เป็นต้นน้ำที่มีอาชีพและรายได้ รวมถึงผู้บริโภคปลายน้ำที่ได้รับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีมีประโยชน์ แบ่งปันความสุขซึ่งกันและกัน

4. สร้างธุรกิจเพื่อแบ่งปัน / Sharing Economy

มุ่งเน้นสร้างธุรกิจเพื่อแบ่งปันคนในสังคมร่วมกัน ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้บริโภคหรือลูกค้า ผู้ถือหุ้นหรือผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรของเรา

 

แนวคิดการพัฒนาสินค้าและการบริการชุมชน

1.      PRODUCT ปัจจัยแรกคือ Product หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งคำว่า Product ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าที่จะส่งออกสู่ ตลาดเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงสินค้าหรือบริการของธุรกิจทั้งแบบที่จับต้องได้ หรือจับต้องไม่ได้ เช่น แอปพลิเคชัน เป็นต้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ธุรกิจผลิตออกมาเพื่อขายให้ลูกค้า ล้วนแล้วแต่เป็น Product หรือผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น

2.      BRANDING แบรนด์ (Brand) คือ แนวคิดหรืออุดมคติที่แสดงถึงองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กรนั้น โดยสามารถถ่ายทอดพันธกิจและภาพลักษณ์ผ่านชุดข้อความที่กำหนดได้ ส่วนการสร้างแบรนด์ (Branding) คือ การสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ จนเกิดเป็นภาพจำให้กับผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นจนเกิด Conversion หรือการตัดสินใจซื้อในที่สุด

3.      MARKETING กระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าในบางครั้ง แต่การขายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด

การตลาดอาจถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การและกลุ่มกระบวนการเพื่อการผลิต การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่าไปยังลูกค้า และการจัดการความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ในทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ถือหุ้น การจัดการการตลาดเป็นศิลปะของการเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการได้มาและการรักษาลูกค้า ผ่านทางการจัดหาคุณค่าของลูกค้าที่เหนือกว่า

4.      FINANCIAL

สร้างแบรนด์
- สร้างชื่อแบรนด์ให้น่าจดจำ เพื่อบอกกับลูกค้าว่าเราเป็นใคร
สิ่งแรกที่สื่อสารไปถึงลูกค้าคือชื่อสินค้า ควรเป็นชื่อที่บ่งบอกตัวตนของสินค้าและบริการนั้นทันทีที่ได้ยิน หรืออาจเพิ่มเทคนิคการเล่นคำให้ติดหูคนทั่วไปและติดตลาด
- สร้างความแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกันในท้องตลาด
วิเคราะห์จุดเด่นสินค้า โดยสามารถดึงทั้งกระบวนการ รสชาติ แหล่งที่มา ฯลฯ เพื่อมาเป็นจุดเด่นให้กับสินค้า สำหรับสร้างการจดจำ
สินค้า
- สินค้าต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
สินค้านั้นต้องมีความโดดเด่นด้านการใช้งาน เช่น หากสินค้าชุมชนคือการผลิตหมวกจากสีธรรมชาติ อาจต้องดึงข้อดีของการใช้สีธรรมชาติ หรือกระบวนการผลิตที่ทำให้หมวกใช้งานได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
- ปรับสินค้าให้มีความทันสมัยหรือหยิบสิ่งที่กำลังนิยมใส่ลงในผลิตภัณฑ์
อย่างที่ทราบว่าสินค้าชุมชนมักมีลวดลายหรือสีสันที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น บางครั้งอาจทำให้เข้าถึงลูกค้าได้เพียงเฉพาะกลุ่ม ทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 อาจทำให้กลุ่มลูกค้าน้อยลงไปอีก เช่นลูกค้าชาวต่างชาติลดลง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอาจหันกลับมามองกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนไทย และปรับสินค้าให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทั้งสี ลวดลาย หรือประเภทของสินค้าชนิดต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า แต่ยังคงกลิ่นอายของสินค้าท้องถิ่น ก็ยิ่งช่วยให้สินค้ามีความโดดเด่นมากกว่าเดิม
ช่องทางการจัดจำหน่าย
- วิเคราะห์ว่าสินค้าตนเองเหมาะกับการขายช่องทางใด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางการขายสินค้าถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะช่องทางการขายที่ดีจะทำให้สินค้าไปถึงมือของผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่นอกเหนือไปจากจำนวนของลูกค้าแล้ว การทำให้สินค้าอยู่ในพื้นที่ที่ใคร ๆ ก็ต้องการยิ่งเพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น เช่น ขายสบู่สมุนไพรในห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
- เริ่มศึกษาการขายช่องทางออนไลน์อย่างจริงจัง
ช่องทางการขายที่สำคัญในปัจจุบันคือ ช่องทางการตลาดออนไลน์ หากไม่เริ่มปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้อาจทำให้พลาดกลุ่มลูกค้าอีกจำนวนมากได้ ดังนั้นการศึกษาธรรมชาติของแพลตฟอร์มการขาย วิธีการสร้าง Content หรือช่องทางการขนส่งของสินค้าก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินค้าชุมชนได้มากขึ้น
รวมกลุ่มกันในชุมชน
- หาพื้นที่ส่วนกลางสำหรับขายสินค้าชุมชน
จะดีแค่ไหนหากในชุมชนเกิดการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง หากดึงสินค้าชุมชนประเภทต่าง ๆ มาวางขายในพื้นที่เดียวกันนอกจากจะยิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวมากขึ้นแล้ว ยังช่วยเรื่องส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
- เชื่อมโยงสินค้าแต่ละชนิดในชุมชน เพื่อสร้างเรื่องราวที่น่าดึงดูดใจนักท่องเที่ยว
นอกเหนือไปจากการรวมกลุ่มเป็นพื้นที่ขายสินค้าประจำชุมชนจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวแล้ว สินค้าแต่ละชนิดในชุมชนล้วนมีเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันและกันในพื้นที ยังสามารถสร้างเรื่องราวที่หลากหลายจากการรวมกลุ่มกันได้ด้วย สำหรับการผลิต Content เพื่อกระตุ้นการรับรู้บนโลกออนไลน์อย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว