พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 2 แนวคิดการพัฒนาสินค้าชุมชน
25 ก.ค. 2567
สรุปกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 2 แนวคิดการพัฒนาสินค้าชุมชน
โครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง
ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น
วันอังคาร ที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 13.30–15.30 น.
ณ บริษัท โซเชียล อะไลน์ จำกัด และผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Meeting
กล่าวพิธีเปิดโดย แพทย์หญิงดวงดาว ศรียากูล รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม
กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่พวกเราตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้ทุกพื้นที่ได้รับฟังสิ่งดีๆและ ประสบการณ์ดีๆ ในการได้รู้จักจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นที่ไม่ใช่ โดยเฉพาะในเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง วันนี้หมอได้รับโจทย์มา อย่างพวกเราเองในฐานะองค์กรทางสาธารณสุขศาสตร์ที่อยู่ในทุกพื้นที่นี้จะมีบทบาทในการช่วยทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในแง่ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร โจทย์นี้เป็นโจทย์ที่ดี อย่างหมออยู่ในเพชรบูรณ์ เราช่วยอะไรบ้าง สิ่งที่หมอมองเห็นชัดๆเลยคือ เราช่วยสร้างคนให้มีความเข้มแข็งสร้างคนให้มีคุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตนี้จะสร้างคนให้มีพื้นฐานให้เขาไปประกอบกิจการได้ และสิ่งที่หมอมองเห็นและประทับใจสำหรับเครือข่าย รพช.ของเราคือ เราช่วยสร้างงาน มีการช่วยเรื่องผลิตภัณฑ์หลายที่เลยของการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนได้มีงาน เพราะว่าตัวผลิตภัณฑ์จริงบางทีไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เพียงแค่สิ่งของจับต้องได้ เป็นผลิตภัณฑ์บริการก็มี เราสร้างงานง่ายๆเลย อย่างเช่นกลุ่มที่เป็นนักบริบาลในชุมชน อันนี้ก็เป็นการสร้างงานบริการอย่างหนึ่ง ซึ่งเราเป็นหน่วยหลักเลยนะที่อยู่ในชุมชนที่เป็นผู้ช่วยทำให้เขาเกิดงานขึ้นมาได้ ให้เขาได้มีรายได้
อันที่สองต่อมา เราจะเห็นๆหลายที่ทำคือการช่วยพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเกษตร โดยเฉพาะอาหาร เพราะเราเองในหลายๆที่ ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ของผู้บริโภคในแต่ละชุมชน อย่างโรงพยาบาลที่หมอยู่ โรงพยาบาลจังหวัด ต้องซื้ออาหารปีๆหนึ่งหลายบาทมาก เราจะเป็นแหล่งขายการตลาด แต่เราก็ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งคือผู้ช่วยทำให้เขาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้ อันนี้คือสิ่งที่เราเห็นอยู่ใกล้ตัวอย่างง่ายๆ และหมอเชื่อว่ายังมีอีกหลายที่ก็มีเป็นตัวช่วยทำให้ชุมชนได้พัฒนาตัวเองให้มีรายได้ได้
วิทยากร : คุณวัชรากรณ์ ขันธจีระวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี มี สุข (ไม่) จำกัด ธุรกิจเพื่อสังคม และ ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัทเรียนรู้และพัฒนาชุมชนจำกัด วิสาหกิจเพื่อสังคมและชุมชน ประสบการณ์ทำงานกว่า 20 ปี
บริษัท ดี มี สุข (ไม่) จำกัด Social Business Development คือ องค์กรพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ที่มุ่งออกแบบวัตกรรมใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการรูปแบบกิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise เป็นองค์กรไม่แสวงกำไร บริหารจัดการที่โปร่งใสและมีบรรษัทภิบาล
“ผมเชื่อว่า การเพาะต้นกล้าที่ดีจะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง ชุมชน ก็เปรียบเหมือน ต้นกล้า ที่ต้องการเติบโตเป็น ชุมชนที่เข้มแข็ง”
Social Enterprise คือ องค์กรที่มีตัวตน มีจุดยืน และดำเนินการเพื่อเป้าหมาย เพื่อแก้ปัญหาทาง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีการวัดผลและสื่อสารผลลัพธ์ทางสังคม บริหารจัดการรูปแบบธุรกิจ ไม่ได้แสวงหากำไรสูงสุด สร้างรายได้จากการขายสินค้าและบริการ บริหารอย่างโปร่งใส มีธรรมภิบาล
เมื่อก่อนเราจะเห็นว่า 2 ฝั่ง ฝั่ง NGO ก็คือ องค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร ซึ่งถามว่าได้รับเงินสนับสนุนจากไหน ก็ได้มาจากเงินบริจาค เพื่อสร้างกิจการทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม อีกฝั่งของทาง ธุรกิจ ก็จะมองในแง่ของกำไรเป็นหลัก สร้างความมั่งคั่ง ในสังคมก็จะมองว่าธุรกิจนี้คุณไม่คืนกำไรให้กับสังคมบ้างเลยหรือ ธุรกิจเองก็เริ่มเข้ามาสร้างภาพลักษณ์ในองค์กรของตัวเอง ให้มีการ CSR เหมือนกัน และอีกฝั่งของ NGO ก็เริ่มที่จะมองการสร้างรายได้ให้กับองค์กรของตัวเองบ้าง เริ่มมีการชายของ รับบริจาคบ้าง สิ่งนี้ที่เกิดการร่วมกัน ทำให้เป็นที่มา กิจการเพื่อสังคม Social Enterprise เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลการในสังคม
Social Non Profit มุ่งหวังในการแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ Enterprise For Profit มีการบริหารจัดการที่ดี พึ่งพาตนเองทางการเงิน มีแผนการดำเนินงานที่ดี
ผู้ประกอบการทางสังคม คือ กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม มีทั้งด้าน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ทีนี้เราจะเห็นว่า ธุรกิจ เพื่อแก้ปัญ อย่างเช่น คนจนมีปัญหาอะไรบ้าง ก็จะเป็น จนมากยิ่งขึ้น จนด้วยหนี้สิน จนหนทางทำมาหากิน
คนเกษตรมีปัญหาไรบ้าง ก็จะเป็น ผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง เป็นเกษตรอุตสาหกรรม หนี้สินการเกษตร
มนุษย์เงินเดือนมีปัญหาไรบ้าง ก็จะเป็น เครียดกับงาน ภาระหนี้สิน เสี่ยงตกงานก่อนเกษียณ
การศึกษามีปัญหาไรบ้าง ก็จะเป็น คุณภาพน้อยลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เป็นหนี้การศึกษา
ผู้ประกอบการ SME มีปัญหาอะไรบ้าง ก็จะเป็น คู่แข่งขันสูง ภาวะขาดทุน หนี้สินสถาบันการเงิน ต้นทุนการเงินสูง
“ผู้ประกอบการชุมชน มีปัญหาอะไรบ้าง ก็จะเป็น กิจกรรมพัฒนารัฐ ปริมาณมากกว่าคุณภาพ ความพร้อมและต้องการเป็นหนี้การพัฒนา” ว่าสิ่งที่เรานำไปเติมให้กับชุมชนมีศักยภาพและมีพร้อมขนาดไหนที่อยากจะทำกิจกรรมการพัฒนาที่รัฐจะเติมให้ รวมถึงกิจกรรมบางอันหรือเครื่องมือบางอันที่รัฐเข้าไปสนับสนุนยังก่อเกิดเป็นหนี้ต่อการพัฒนา ก็หลากหลายโครงการที่สร้างเป็นกลไกเป็นการเงินแล้ว ทำให้เกิดการเป็นหนี้ในกลไกของรัฐ กับสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาในสังคมทั้งนั้น ที่เรามองเห็นถึงปัญหาเหล่านี้มานั่งออกแบบเพื่อจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ จนเกิดเป็น
“โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยที่ผ่านมา”
เราจะเห็นว่าที่ผ่านของประเทศไทยเรา ถ้าพูดถึงการพัฒนาเป็นพีระมิด ฐานข้างล่างเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เราจะเรียกว่า Micro Economy แต่ถ้าข้างบนเราจะเรียกว่า Macro Economy เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ปกติแล้วพีระมิดที่ดีมันควรจะฐานข้างล่าง และปลายแหลมข้างบนเพื่อมั่นคง แต่ซึ่งปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทยโตด้วยพีระมิดที่ฐานมันหงายขึ้น จะเห็นได้ว่ามันจะโตด้วยคนตัวใหญ่ คนตัวเล็กไม่โต ทั้งที่คนตัวเล็กมีปริมาณที่มากกว่าคนตัวโต
- ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน จำนวนวิสาหกิจชุมชน มี 126,746 ราย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 1,099 เครือข่าย
- 50.08% การเกษตรพืชและสัตว์ 64,738 ราย
- 27.37% การผลิตและแปรรูป 34,685 ราย
- 10.14% งานหัตกรรม12,853 ราย
- 12.41% การบริการและท่องเที่ยว 14,470 ราย
· แนวคิดการคัดเบือกชุมชนเพื่อร่วมพัฒนาพื้นฐานต้นทุนชุมชน
ปัญหาการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน คือ การมีส่วนร่วม การพัฒนาต่อเนื่อง เงินลงทุน การตลาด นี้คือ 4 ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในชุมชน
· การเป็นผู้ประกอบการชุมชน “ทำได้ ขายเป็น” มีกิจกรรม 4 กิจกรรมดังนี้
1. รวมกลุ่ม คือ เราต้องรวมกลุ่มในชุมชนให้ได้ก่อน
2. แปรรูปและพัฒนาสินค้าและบริการ
3. ขายสินค้าและบริการ
4. สรุปผลการดำเนินการ
ผู้นำ จำเป็นสำคัญมาก เป็นผู้ที่ลุกขึ้นมานำชาวบ้าน ให้เกิดการทำตามและที่เหลือก็จะเป็นผู้ร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ให้ตรงกับความรู้และความสามารถของแต่ละบุคคล แล้วเราจะมาดูทรัพยากรในแต่ละพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง มีอะไรที่มีคุณค่า เพราะเราเชื่อว่า ทุกพื้นที่ทรัพยากรไม่ขาด แต่ขาดความรู้ที่จะไปพัฒนา ซึ่งความรู้เราสามารถเติมกันได้ สินค้าที่เราจะเลือกมา เราจะต้องดูการตลาด คำนึงว่า ต้องขายได้จริง
· ความรู้คู่การพัฒนาธุรกิจชุมชน ตลาดนำการผลิต
การทำธุรกิจเราจะต้องมีความรู้ว่า ความรู้อะไรบ้างที่เราจะต้องนำมาบริหารจัดการได้ เครื่องมือในการพัฒนา ดี มี สุข D B M T F ถ้าจะทำธุรกิจเราจะต้องมองเรื่องการตลาดให้ออกว่าจะขายใคร เราต้องทำได้ เราต้องขายเป็น เรื่องตลาดนำการผลิต ต้องตอบได้ว่าลูกค้าคือใคร
1. Develop พัฒนาที่ต่อเนื่อง
2. Branding แบรนด์ชุมชนยั่งยืน
3. Marketing ตลาดเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
4. Technology เทคโนโลยีชุมชน
5. Finance บัญชีและการเงินชุมชน
· ธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน มีกระบวนการมีส่วนร่วมแผนชุมชน คือ ความน่าอยู่ สภาพแวดล้อมดีมีความปลอดภัยมี ระเบียบวินัยคุณภาพที่ดี มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชน/ประชาสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาระบบข้อมูลติดตามประเมินผล แหล่งเงินทุน จะต้องมีภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างกระบวนการเรียนรู้ สังคมความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่ม รักษาวัฒนธรรม/ความเป็นไทยมีภูมิคุ้มกัน เพิ่มรายได้และการมีงานทำ เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็งพัฒนาคุณภาพสินค้าสู่ตลาดใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาเชื่อมโยงชนบท-เมือง
การทำธุรกิจที่ดี ควรวางแผนที่ดีก่อน ให้ชัดเจน วิธีที่จะสร้างธุรกิจ ลองทำธุรกิจในกระดาษให้เกิดผลสำเร็จที่สุด เพราะถ้าผิดพลาดก็ยังดีที่พลาดในกระดาษ ดีกว่าลงมือทำไปแล้วพลาด อาจจะเกิดความเสียหายมากกว่าการร่างในแผ่นกระดาษ แค่ลงทุนกับสมองในความคิดเท่านั้นเอง