พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงานพัฒนาสังคม
9 ก.ค. 2567
กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ครั้งที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำงานพัฒนาสังคม
โครงการพัฒนาระบบสุขภาพองค์รวมสู่ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง
ในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องที่และท้องถิ่น
วันอังคาร ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30–15.30 น.
ณ บริษัท โซเชียล อะไลน์ จำกัด และผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Meeting
กล่าวพิธีเปิดโดย แพทย์หญิงดวงดาว ศรียากูล รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม:
โดยกิจกรรมครั้งนี้จะอยู่โดยในโครงการ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โครงการ ABS คือการพัฒนาพื้นที่ซึ่งจะเป็น Past ของการพัฒนาที่จะนำองค์ความรู้ดี ๆ นำทักษะดี ๆ หรือประสบการณ์ที่ดี ๆ จากวิทยากรที่มากความสามารถนำมาสู่การกระจายข้อมูลต่าง ๆ ให้กับพื้นที่ ให้ได้รับรู้เพื่อที่จะได้ให้พื้นที่ ที่สนใจเอาองค์ความรู้เอาประสบการณ์ที่ดีเหล่านี้ไปปรับใช้ โดยวันนี้เป็นเรื่องกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการที่จะให้พื้นที่เข้าไปทำหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนของเรา ในวัตถุประสงค์ใหญ่เลยของโครงการนี้อยากให้พื้นที่แต่ละที่นี้ ในฐานะที่เราเป็นหน่วยบริการสุขภาพ ซึ่งเราจะเห็นเรื่องของสุขภาพมิติ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ เราต้องการให้คนและประชาชนของเรา มีสุขภาพที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น 1 ในเรื่องที่จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีก็คือ การกิน การอยู่ ผลิตภัณฑ์ชุมชนในครั้งนี้ เลยเป็นที่มาโดยรวมแล้วเพื่อที่จะให้พื้นที่ไหนมีผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีคุรภาพ ผลิตภัณฑ์ที่อยากจะเอาไปสร้างรายได้ให้กลับกับชุมชน ทำให้ชุมชนของเราเข้มแข็งขึ้น มีผลิตภัณฑ์ขายได้ ติดใจ ติดปาก ติดตา กับผู้คนทั่วไป ๆ จะต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้น เราจึงต้องพัฒนาให้ชุมชนของเราเข้มแข็งขึ้นในฐานะที่พวกเราเป็นหน่วยสุขภาพแต่เราจะไปเป็น Facility ให้คนอื่นเขาสามารถที่จะทำงานให้อย่างเข้มแข็งได้ยังไงให้คนอื่นเขารู้ สามารถที่จะทำงานให้อย่างเข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร เพื่อที่จะไปสนับสุนชุมชนของเราได้
วิทยากร คุณจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
สถาบันพัฒนาองค์ชุมชน (พอช.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2543 เป็นองค์การมหาชน โดยการยุบรวม 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (พชม.) และสำนักงานกองทุนพัฒนาชนบท (สพช.)
ภารกิจตามหน้าที่
1. ส่งเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนและเครือข่าย พัฒนาที่อยู่อาศัย ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมและสมาชิกมีส่วนร่วม
2. ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน สินเชื่อ
3. เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรชุมชน
4. ประสานความร่วมมือพหุภาคี
ภารกิจตามนโยบายและกฎหมาย
1. การัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท
2. พ.ร.บ สภาองค์กรชุมชน : ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบล
แนวทางการสนับสนุนการทำงานขององค์กรชุมชนในพื้นที่
1. สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้มีบทบาทหลัก (Key actors) ในการวางแผนและดำเนินการ ภายใต้การสนับสนุนความร่วมมือกับ อปท. และหน่วยงาน ภาคีทุกภาคส่วน
2. ขบวนชุมชนมีบทบาทสำคัญในการวางแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง (Demand driven) ด้วยทรัพยากร ที่มีในท้องถิ่น ร่วมกับภาคีพัฒนา
3. วางแผนพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายให้เต็มพื้นที่ทั่วประเทศ (Nationwide development process) โดยเชื่อมโยงชุมชน ท้องที่ท้องถิ่น หน่วยงานและประชาสังคม
4. จัดกระบวนการพัฒนาองค์กรชุมชน (Community organizing) ในรูปแบบต่าง ๆ โดยจัดสรรและกระจายงบประมาณให้องค์กรชุมชนบริหารจัดการด้วยตนเอง
กรอบทิศทางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและทุนชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
วิสัยทัศน์ : ชุมชนท้องถิ่นระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่มั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้และจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายการพัฒนา
1. บุคคล/ครอบครัว : สมาชิกในชุมชน และคนในครอบครัวทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี “กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด” เกิดการลดจ่ายและรายได้เพิ่มในครัวเรือน
2. กลุ่มองค์กรชุมชน : กลุ่มองค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการทรัพยากรได้ดี มีระบบการบริหารที่ดี เกิดการช่วยเหลือแบ่งปันสู่การสร้างสวัสดิการชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
3. หมู่บ้าน ตำบล : มีกลไกการขับเคลื่อน เกิดระบบฐานเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่เข้มแข็งนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้
4. จังหวัด/ภูมิภาค/ชาติ : มีเครือข่ายเศรษฐกิจที่เชื่อมร้อยกับทุกระดับ ที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการยกระดับให้เป้นเครือข่ายจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างที่ 1 : “การเลี้ยงกบและปลาหมอ เสริมคุณภาพชีวิตคนตำบลโพนทอง”
ศูนย์บามเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลโพนทอง ร่วมกับหน่วยงานภาคี อบรมหลักสูตรระยะสั้น พร้อมมอบพันธุ์สัตว์หนุน คุณภาพชีวิต 38 ครัวเรือน ให้มีแผนการทำมาค้าขายทำมาหากิน ลดค่าใช้จ่ายเสริมรายได้ครัวเรือน
หนองคาย/วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 สภาองค์กรชุมชนตำบลโพนทอง จัดเวทีเรียนรู้การเลี้ยงกบ ปลาหมอ และรับมอบพันธุ์กบ ปลาหมอ ไก่พื้นเมือง โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยสู่การยกระดับเศรษฐกิจระดับครัวเรือนในตำบล ปีงบประมาณ 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านไร่ ตำบลโพนทอง อบรมหลักสูตรการเลี้ยงกบ ปลาหมอ และมอบลูกกบ ปลาหมอ ไก่พื้นเมือง รวมทั้งมอบหัวอาหาร และกระชังบกกระชังน้ำ ให้ผู้ได้รับประโยชน์ 38 ครัวเรือน ในเขตพื้นที่ตำบลโพนทอง ทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย 1.กลุ่มตกงาน ผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อโรคโควิด 19 2.กลุ่มผู้มีรายได้น้อย 3.กลุ่มผู้พิการโดยมีรองนายกองค์กรบริหารส่วนตำบลโพนทองเกษตรจังหวัด ประมงจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคายอย่างไรก็จาม นายอำเภอโพนทอง จะสนับสนุน การตลาดให้กับชาวบ้านในการขาย ขายปลาเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ลดรายจ่าย สร้างรายได้ต่อไป
ตัวอย่างที่ 2 : “ศูนย์บ่มเพาะตำบลบ้านปรางค์ จัดหลักสูตรระยะสั้น สำหรับอาหารพื้นถิ่น เสริมมาตรฐานท่องเที่ยวชุมชนสร้างรายได้ให้คนในชุมชน”
นครราชสีมา/ 15 มิ.ย. 2565 ที่บ้านปรางค์นคร ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านปรางค์ นำโดยนายศิริวัฒน์ วราธนาวิชญ์ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนบ้านปรางค์นคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดหลักสูตรเรียนรู้ระยะสั้น การทำสำรับอาหารคนบ้านปรางค์เพื่อรับนักท่องเที่ยว ทั้งเมนูมื้อเช้า กลางวัน เย็น ให้กับสมาชิก กลุ่มท่องเที่ยวในตำบลได้ทำอาหารให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยมีหน่วยงานภาคี กศน. รพสต. ในพื้นที่เข้าร่วม
นายประวิตร ชุมสุข ปธ.วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนบ้านปรางค์นคร และอนุกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา แนะนำว่า การทำอาหารรับนักท่องเที่ยว นอกจากเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยแล้ว เรื่องความเรียบง่าย สวยงาม เป็นสิ่งสำคัญ อาหารที่ดีต้องอร่อยตา อร่อยลิ้น อร่อยใจด้วย เป็นการสืบสานสร้างรายได้จากอาหารพื้นที่ถิ่นให้คนในชุมชน ที่ใช้วัตถุดิบในชุมชน และแม่บ้านในชุมชนประกอบอาหาร ทำให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม นอกจากปราสาทบ้านปรางค์ บารายสวรรค์ โฮมสเตย์ บ้านเรือนไทยโคราชแล้ว ของดีอีกอย่างที่บ้านปรางค์ก็คือสำรับอาหารพื้นที่ถิ่น เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยี่ยมเยือนต่อไป
8 คุณลักษณะของชุมชนท้องถิ่นที่มีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน
1. มีกระบวนการสำรวจข้อมูลและวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจของพื้นที่/ตำบล
2. มีการตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนและตัวชี้วัดความสำเร็จ
3. มีการจัดกลไกร่วมรับผิดชอบการทำงาน เช่น สภาองค์กรชุมชน กลุ่มธุรกิจชุมชน องค์กรการเงิน และกลุ่มต่าง ๆ
4. มีการเชื่อมโยงความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
5. มีการดำเนินการตามแผน เชื่อมโยงแผนไปสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ
6. มีเวทีเรียนรู้ สรุปบทเรียนและถอดความรู้จากการทำงาน
7. มีผลการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานนตามแผนอย่างเป็นรูปธรรมหรือเห็นผลได้ชัดเจน
8. มีการยกระดับงาน ขยายผลงานในเชิงพื้นที่ และนโยบาย
บทสรุปเชิงหลักการ
Checklist : บันได 5 ขั้นของการมีส่วนร่วมของพลเมือง
1. เสริมพลังให้ชุมชนตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
2. เปิดให้พลเมืองได้เข้ามาร่วมออกแบบชุมชนในฐานะผู้ที่มีอำนาจเท่ากัน
3. พยายามให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ
4. ให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการ/นโยบาย
5. สื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โปร่งใสและกันเหตุการณ์ต่อพลเมือง
เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่
1. การมีเสรีภาพในการเข้าร่วม คือ มีอิสระที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือไม่ได้โดยการถูกบังคับไม่ว่าจะในรูปแบบใดไม่ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วม
2. การมีความเสมอภาคในการเข้าร่วมกิจกรรม ทุกคนที่เข้าร่วมในกิจกรรมใด ๆ ต้องมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น ๆ
3. ความรู้ความสามารถของผู้เข้ามามีส่วนร่วม คือ ต้องมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ซึ่งหากกิจกรรมที่กำหนดไว้มีความซับซ้อนเกินความสามารถของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ก็จะทำให้การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นไม่ได้ นั้นแสดงว่าจะต้องมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและศักยภาพให้เขาเหล่านั้นก่อน เพื่อให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้